อาหารหกชนิดที่สามารถรักษาและป้องกันโรคผื่นแพ้อักเสบได้มีดังนี้
โรคผื่นแพ้อักเสบ (Eczema) เป็นตัวบ่งชี้โรคผิวอักเสบหลายโรค เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) และ โรคผื่นระคายสัมผัส (Contact Dermatitis) โรคผื่นแพ้อักเสบทำให้ผิวหนังเป็นสีแดง แห้ง และคัน และยังทำลายเกราะป้องกันความชื้นของผิว ทำให้ผิวของมนุษย์มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อและแพ้ง่ายมากขึ้นซึ่งอาจทำให้ผิวแห้งและคันมากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคผื่นแพ้อักเสบยังเป็นที่ถกเถียงกัน ซึ่งมันอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานมากเกินไป พันธุกรรม ระดับความเครียด และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งนี้โรคผื่นแพ้อักเสบไม่เป็นโรคติดต่อและไม่ใช่สัญญาณของสุขอนามัยที่ไม่ดี
อาหารหกชนิดที่สามารถรักษาและป้องกันโรคผื่นแพ้อักเสบได้
แม้ว่าจะไม่มีอาหารเฉพาะที่จะรักษาโรคโรคผื่นแพ้อักเสบ แต่การปรับเปลี่ยนอาหารของคุณให้มีส่วนประกอบที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในปริมาณมากอาจช่วยให้อาการต่างๆ ของโรคโรคผื่นแพ้อักเสบดีขึ้นได้ การดื่มน้ำปริมาณมากสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคและทำให้ผิวของคุณชุ่มชื้น หากคุณคิดว่าอาหารที่คุณรับประทานอาจเป็นสาเหตุของโรคผื่นแพ้อักเสบกำเริบให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัว นักโภชนาการ และ/หรือ แพทย์ผิวหนัง
การงดเว้นอาหารบางประเภทเป็นอีกวิธีหนึ่งในการกำจัดอาหารที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคโดยไม่จำกัดอาหารของคุณทั้งหมดในคราวเดียว เมื่อเริ่มต้นแผนการรับประทานอาหารใหม่ให้พิจารณาวางแผนร่วมกับนักโภชนาการหรือโค้ชด้านสุขภาพที่เน้นด้านโภชนาการ ซึ่งพวกเขาสามารถเป็นแหล่งข้อมูลพิเศษและช่วยแนะนำคุณในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
อาหารหกชนิดที่สามารถรักษาและป้องกันโรคผื่นแพ้อักเสบได้มีดังนี้
ถั่วและเมล็ดพืชหลายชนิดมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ตามธรรมชาติสูง ซึ่งร่างกายของเราต้องการกรดไขมันโอเมก้า 3 แต่ไม่ได้ผลิตขึ้นเอง โอเมก้า 3 ทั้งหลายมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ โดยเมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดป่าน วอลนัท และถั่วลิสงล้วนมีโอเมก้า 3 สูง ให้เลือกรับประทานถั่วต่างๆ ที่ไม่ใส่เกลือ และโปรดทราบว่าเมล็ดพืชบางชนิด เช่น เมล็ดแฟลกซ์ จำเป็นต้องบดเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางโภชนาการ
ปลา โดยเฉพาะปลาแซลมอน ปลาทูน่าอัลบาคอร์ ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล เป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ตามธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ปลาที่มีไขมันยังเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินดีที่ละลายในไขมัน ซึ่งช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือ ไม่ทำปฏิกิริยามากเกินไปหรือตอบสนองอย่างไม่เหมาะสม (เช่นภาวะภูมิต้านตัวเอง)
วิตามินดีมีผลโดยตรงต่อความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน และการขาดวิตามินดีเป็นหนึ่งในภาวะขาดสารอาหารที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก วิตามินดีส่วนใหญ่ที่เราได้รับมาจากแสงแดด แต่แสงแดดจากดวงอาทิตย์มีรังสี UVA และ UVB ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการถูกแดดเผาและมะเร็งผิวหนัง การใช้ส่วนประกอบอาหารที่มีวิตามินดีสูงจะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากสารอาหารนี้โดยไม่เสี่ยงต่อการถูกแดดเผาและมะเร็งผิวหนัง อาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี ได้แก่ ไข่ ปลาแซลมอน โยเกิร์ต ตับวัว และ เห็ด
อาหารที่อุดมด้วยโปรไบโอติกมีประโยชน์ต่อลำไส้ เนื่องจากโปรไบโอติกช่วยในการย่อยอาหารและควบคุมระดับของแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพในระบบย่อยอาหาร หลายงานวิจัยยืนยันว่ามากกว่า 70% ของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันถูกกำหนดโดยสุขภาพของลำไส้ และงานวิจัยต่างๆ ยังจัดให้โภชนาการเป็นกุญแจสำคัญในการทำงานของระบบย่อยอาหาร เมื่อลำไส้ของคุณแข็งแรง ส่วนอื่นๆ ของร่างกายของคุณเกือบทั้งหมดก็จะแข็งแรงด้วยซึ่งรวมถึงผิวหนังของคุณด้วย อาหารที่อุดมด้วยโปรไบโอติก ได้แก่ อาหารหมักดอง เช่น กิมจิ เทมเป้ คอมบูชา ผักดอง และ โยเกิร์ต
การรับประทานผักตระกูลกะหล่ำ (เช่น กะหล่ำปลี บรอกโคลี ผักกาดกวางตุ้ง คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว และ กะหล่ำดอก) ช่วยต้านการอักเสบได้ การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าอาสาสมัครที่รับประทานผักตระกูลกะหล่ำต่อวันมากขึ้นมีอาการอักเสบน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ และระดับตัวบ่งชี้การอักเสบบางอย่างในเลือดของอาสาสมัครต่ำกว่ากลุ่มควบคุมระหว่าง 13% ถึง 25%
บลูเบอร์รี่ เอลเดอร์เบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ และ เชอร์รี่ ล้วนมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น แอนโธไซยานิซึ่งทำให้ผลเบอร์รี่มีเฉดสีฟ้าและม่วง และ โพลีฟีนอล ผลไม้เหล่านี้ยังอุดมไปด้วย ฟลาโวนอยด์ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่อาจนำไปสู่โรคได้
ตัวกระตุ้นโรคผื่นแพ้อักเสบ
บางคนอาจพบว่าโรคผื่นแพ้อักเสบของพวกเขาถูกกระตุ้นโดยระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานมากเกินไป สาเหตุอื่นๆ อาจมาจาก แพ้อาหาร หรือ ปฏิกิริยาต่อปัจจัยแวดล้อม เช่น น้ำยาซักผ้าที่มีกลิ่นหอม สบู่ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์ความงาม
ความเชื่อมโยงระหว่างการแพ้อาหารกับโรคผื่นแพ้อักเสบนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล มูลนิธิโรคผื่นแพ้อักเสบแห่งชาติระบุว่า “การแพ้อาหารถือเป็นโรคร่วม (ภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้อง) ของโรคผื่นแพ้อักเสบ ควบคู่ไปกับโรคหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (ไข้ละอองฟาง) และภาวะซึมเศร้า” นักวิจัยพบว่า 30% ของผู้ที่เป็นโรคผื่นแพ้อักเสบมีอาการแพ้อาหารเช่นกัน การศึกษาชิ้นหนึ่งในปี 2560 รายงานว่าผู้ที่เป็นโรคผื่นแพ้อักเสบมากถึง 81% มีอาการแพ้อาหารหรือมีความไวต่ออาหาร มีความคิดเห็นทั่วไปว่าการแพ้อาหารไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคผื่นแพ้อักเสบแต่มันทำให้อาการโรคผื่นแพ้อักเสบรุนแรงขึ้น
อย่างไรก็ตาม โรคผื่นแพ้อักเสบอาจสร้างความหงุดหงิดกับการที่ต้องรับมือกับอาการของโรค และอาจทำให้คุณรู้สึกอึดอัดและอับอายเกี่ยวกับรูปลักษณ์บนผิวของคุณ แม้ว่าจะไม่สามารถควบคุมสาเหตุของโรคผื่นแพ้อักเสบได้ทั้งหมด แต่การปรับอาหาร เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และแม้แต่การจัดการระดับความเครียดก็สามารถช่วยป้องกันและจัดการกับอาการกำเริบได้
Author
เพื่อความสะดวกในการรับบริการ เวลิด้า เฮลธ์ คลินิก แนะนำให้ท่านทำนัดก่อนเข้ารับบริการ
เวลิด้า เฮลธ์ เวลเนส เซ็นเตอร์
ให้สุขภาพดีเป็นเรื่องง่ายในทุกไลฟ์สไตล์ของคุณ เริ่มต้น “สุขภาพดีของคุณ”
© 2024 Welida Health Co.,Ltd
กำลังพัฒนาโดย Sixtygram Digital Agency.