Search
Close this search box.

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

อาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจสามารถช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจได้ มีอาหารหลายชนิดที่สามารถป้องกันและจัดการความดันโลหิตสูงได้ เช่น:

  • ธัญพืชไม่ขัดสี
  •  ผลไม้และผักสด
  •  ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ หรือ ไม่มีไขมัน หรือ มีไขมันในปริมาณที่พอเหมาะ
  • แหล่งโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น ไก่งวง และ ปลา
  • พืชตระกูลถั่ว  
  • ไขมันที่ดีต่อสุขภาพที่พบในแหล่งอาหารพวกถั่ว เมล็ดพืช อะโวคาโด และปลาที่เติบโตในแหล่งน้ำเย็น เช่น ปลาแซลมอน

มีการประเมินว่าผู้ใหญ่หนึ่งในสามในสหรัฐอเมริกานั่นคือประมาณ 100 ล้านคนมีภาวะความดันโลหิตสูง หน่วยงาน American Heart Association (AHA) ยังสงสัยว่าชาวอเมริกันส่วนที่เหลืออาจมีความดันโลหิตสูงกว่าปกติซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของการเป็นโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต แล้วอะไรที่ส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมาก และการรับประทานอาหารจะช่วยควบคุมโรคนี้ได้อย่างไร?

การวัดความดันโลหิต

ความดันโลหิตเป็นแรงขับที่สูบฉีดเลือดของคุณไปที่ผนังหลอดเลือด หัวใจสูบฉีดเลือดไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ซึ่งส่งเลือดไปทั่วทั้งร่างกาย ความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นเมื่อความดันสูงเกินปกติ ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงร่างกาย ความดันโลหิตของคุณเพิ่มขึ้นและลดลงตามธรรมชาติตลอดทั้งวัน แต่ความเสี่ยงเกิดขึ้นเมื่อความดันโลหิตเพิ่มขึ้นและคงที่ การมีความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานสามารถทำลายหัวใจของคุณและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคหัวใจวาย และ โรคหลอดเลือดสมอง

การอ่านค่าความดันโลหิตประกอบด้วยตัวเลขสองตัว คือ Systolic (ตัวเลขบน) และ Diastolic (ตัวเลขด้านล่าง) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) กำหนดความดันโลหิตปกติต่ำกว่า 120/80 มม.ปรอท ตัวเลขบน (ในกรณีนี้คือ 120) หมายถึงความดันในหลอดเลือดแดงของคุณในระหว่างการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ตัวเลขด้านล่าง (ในกรณีนี้คือ 80) หมายถึงความดันโลหิตของคุณเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจของคุณอยู่ระหว่างจังหวะการเต้น

ทั้งนี้คนที่มีความดันโลหิตปกติอาจมีความดันโลหิตต่ำกว่าหรือสูงกว่าสูงเกณฑ์ข้างต้น แต่อย่าลืมปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความดันโลหิตปกติของคุณ

การป้องกันและการจัดการกับความดันโลหิตสูง

แม้ว่าจะไม่มีสาเหตุเฉพาะของความดันโลหิตสูง แต่ก็มีปัจจัยหลายประการที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ ได้แก่:

  •     อายุ – ความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณอายุมากขึ้น โดยปกติคนในวัยสี่สิบอาจมีความดันโลหิตสูงปานกลางเมื่อเทียบกับคนในวัยยี่สิบ ซึ่งอาจเกิดจากการสูญเสียความยืดหยุ่นของหลอดเลือด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน (เช่น วัยหมดประจำเดือน) และความไวต่อโซเดียมที่เพิ่มขึ้น
  •     เพศ – ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนอายุ 45 ปี แต่เมื่อผู้ชายและผู้หญิงมีอายุประมาณ 60 ปีจะมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเท่ากัน เมื่อผู้หญิงอายุเกิน 60 ปี จะมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจากการลดลงของโมนเอสโตรเจน  
  •    เชื้อชาติ – ในปี 2017 CDC รายงานว่าผู้ใหญ่ผิวดำที่ไม่ใช่ชาวสเปนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด (40.3%) ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวเอเชียเชื้อสายสเปนมีความเสี่ยงต่ำที่สุด (25%)
  •     โรคที่มีมาก่อน – โรคที่ทำให้หัวใจมีความเครียดมากเกินไป เช่น โรคเบาหวาน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และโรคไตสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
  •     ประวัติครอบครัว – ปัจจัยทางพันธุกรรมในบางคนอาจมีบทบาทในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงคือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร การศึกษาพบว่าอาหารที่มีเกลือสูงเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างมาก วิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงคือการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วนซึ่งเหมาะกับคุณและหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้โรคความดันโลหิตสูงแย่ลง

คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนเปลี่ยนอาหารทุกครั้ง เมื่อคุณพร้อมที่จะใช้การเปลี่ยนแปลงอาหารและวิถีชีวิต การปรึกษากับนักโภชนาการ หรือโค้ชด้านสุขภาพจะเป็นประโยชน์ในการสร้างนิสัยที่ยั่งยืน ต่อไปนี้คืออาหารหกชนิดที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

  1. อาหารรสเค็ม

การบริโภคเกลือมากเกินไปทำให้เกิดภาวะคั่งน้ำซึ่งอาจเพิ่มความดันโลหิตได้ อาหารบางชนิด เช่น ซีอิ๊วขาวและถั่วเค็มเป็นอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ทั้งนี้มีอาหารหลายชนิดที่มีโซเดียมซ่อนอยู่ เช่น อาหารกระป๋องและเนื้อหมักซึ่งมักจะมีเกลือมากกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวันหลายเท่า การทำอาหารที่บ้านแทนที่จะรับประทานอาหารที่ร้านอาหารหรือซื้อกลับบ้านจะช่วยให้คุณจัดการปริมาณเกลือที่คุณบริโภคได้ดีขึ้น และการเลือกสมุนไพรและเครื่องเทศจำนวนมากจะช่วยให้มื้ออาหารมีรสชาติและน่ารับประทานมากขึ้น 

  1. อาหารที่มีน้ำตาล

น้ำตาลสามารถขัดขวางการเผาผลาญของคุณและทำให้อินซูลินถูกสร้างมากเกินไปซึ่งจะทำให้หลอดเลือดของคุณหดตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ให้ระวังน้ำตาลที่ซ่อนอยู่ในอาหารประจำวัน เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำสลัด โยเกิร์ต และแม้แต่สมูทตี้ที่คุณคิดว่าดีต่อสุขภาพก็อาจมีน้ำตาลได้มากถึงแปดช้อนชาต่อหนึ่งหน่วยบริโภคซึ่งเกินขีดจำกัดวันละ 6-9 ช้อนชาที่ AHA แนะนำ

  1. อาหารที่มีไขมันทรานส์หรือไขมันอิ่มตัวสูง

อาหารแปรรูปนั้นง่ายต่อการหยิบจับและรับประทาน แต่อาจเต็มไปด้วยไขมันทรานส์และ/หรือไขมันอิ่มตัว การบริโภคไขมันประเภทนี้มากเกินไปจะเพิ่มคอเลสเตอรอล LDL ของคุณ ซึ่งอาจทำให้เกิดการสะสมในหลอดเลือดแดงที่เรียกว่า “Plaque” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง การหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น โดนัท พิซซ่าและอาหารแช่แข็ง และ มันฝรั่งทอดกรอบ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้

  1. แอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์ไม่เพียงแต่เต็มไปด้วยน้ำตาลเท่านั้นแต่ยังเพิ่มความดันโลหิตของคุณอีกด้วย หลังจากดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกหลอดเลือดของคุณจะผ่อนคลายและขยายตัว แต่เมื่อร่างกายมีแอลกอฮอล์ในระดับที่สูงขึ้น แอลกอฮอล์จะทำงานย้อนกลับ มันจะบีบหลอดเลือดและทำให้หัวใจของคุณเครียดมากขึ้น

AHA แนะนำให้ผู้ชายดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกินหนึ่งหรือสองแก้วต่อวัน และแนะนำให้ผู้หญิงดื่มไม่เกินหนึ่งแก้วต่อวัน ซึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนึ่งแก้วถูกกำหนดให้เท่ากับ เบียร์ 12 ออนซ์, ไวน์ 4 ออนซ์, สุรา 80 ดีกรี 1.5 ออนซ์ หรือ สุรา 100 ดีกรี 1 ออนซ์

  1. ผลิตภัณฑ์นมเต็มมันเนย (Whole Milk Dairy Products)

มีสถิติที่ขัดแย้งกันมากมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นมและสุขภาพหัวใจ งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำมักจะให้แคลเซียมที่จำเป็นมากในอาหารของคุณ แต่ผลิตภัณฑ์นมเต็มมันเนยมีไขมันมากกว่าที่ร่างกายต้องการ ส่วนงานวิจัยอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าไขมันในผลิตภัณฑ์นมสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้จริง

  1. เนื้อแดง

เนื้อแดงอาจมีคอเลสเตอรอล LDL สูงเช่นเดียวกับอาหารเย็นแบบบรรจุกล่อง การบริโภคเนื้อแดงบ่อยเกินไปอาจสร้างแรงกดดันต่อหัวใจโดยไม่จำเป็น แต่ไม่ใช่ว่าเนื้อแดงทั้งหมดจะมีคอเลสเตอรอลเท่ากัน คุณอาจเลือกเนื้อไม่ติดไขมันที่สไลด์เป็นชิ้นบาง เนื้อบดพิเศษ และเลือกตามเกรดของเนื้อสัตว์ คุณอาจเปลี่ยนสเต็กเนื้อเป็นไก่งวง อกไก่ไม่มีหนัง หรือ เนื้อปลา เช่น ปลาแซลมอน และ ปลาค็อด

อาหารที่ดีต่อสุขสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง

อาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจสามารถช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจได้ มีอาหารหลายชนิดที่สามารถป้องกันและจัดการความดันโลหิตสูงได้ เช่น:

  • ธัญพืชไม่ขัดสี
  •  ผลไม้และผักสด
  •  ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ หรือ ไม่มีไขมัน หรือ มีไขมันในปริมาณที่พอเหมาะ
  • แหล่งโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น ไก่งวง และ ปลา
  • พืชตระกูลถั่ว  
  • ไขมันที่ดีต่อสุขภาพที่พบในแหล่งอาหารพวกถั่ว เมล็ดพืช อะโวคาโด และปลาที่เติบโตในแหล่งน้ำเย็น เช่น ปลาแซลมอน

อาหารที่อุดมด้วยโพแทสเซียม เช่น กล้วยและมันเทศ สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้เช่นเดียวกับอาหารที่มีเส้นใยและสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น ทับทิมและผักใบเขียว

การรับรับประทานอาหารตามแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อหยุดความดันโลหิตสูง (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet: DASH Diet) ที่ AHA ได้แนะนำ หรือ การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ น้ำตาลต่ำ หรือปราศจากไขมันทรานส์ ได้รับการรับการยืนยันว่าช่วยรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว อย่างไรก็ตามก่อนเริ่มเปลี่ยนแปลงรายการอาหารใหม่เพื่อจัดการกับความดันโลหิตสูงที่มีอยู่คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

“แต่อย่างไรก็ตาม”

การมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่คุณกินเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการจัดการสุขภาพหัวใจของคุณ แม้ว่าความเสี่ยงบางอย่างจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การอ่านฉลากอาหาร การหลีกเลี่ยงเกลือและน้ำตาลที่มากเกินไป และการรับประทานธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ ผักสด และเนื้อไม่ติดมันสามารถช่วยให้หัวใจของคุณแข็งแรงและลดความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงได้

Tag :

Share:

Picture of WelidaAdmin

WelidaAdmin

Author

ก่อนหน้า
 ถัดไป 

เนื้อหาล่าสุด

Stressed man sitting with hands on head at home
ความเครียดเรื้อรัง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในยุคปัจจุบันผู้ที่มีความเครียดมากเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ สืบเนื่องมาจากหลายปัจจัย ทั้งความคาดหวังของตัวเอง...
Young girl puts on her massive headphones and relaxes on sofa in cozy apartment
หลีกหนี สังคมวุ่นวาย ความเครียด
คลื่นเสียงบำบัด เป็นการสร้างแรงสั่นสะเทือนให้เกิดคลื่นความถี่เสียงที่แตกต่างๆ กัน ด้วยเครื่องกำเนิดเสียงจากอุปกรณ์ต่างๆ...
Leaky_Gut_Test_pic_Cover
ตรวจประเมินสมดุลในลำไส้
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของลำไส้ตั้งแต่จุลินทรีย์ดี จุลินทรีย์ร้าย เยื่อบุผนังลำไส้ เพื่อประเมินความเกี่ยวข้อง...
Microbiome_Analysis_pic_Cover
ตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ในร่างกาย
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับไมโครไบโอม (MICROBIOME) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์นับล้านๆ ตัวที่อาศัยอยู่ในระบบ...
2023-08-28 ฮอร์โมนหญิง Pic_1
ตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศหญิง
เป็นการตรวจวัดระดับฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนเป็นสารเคมีในร่างกายที่มีส่วนเกี่ยวข้องการทำงานของระบบต่างๆ...

คำค้นหายอดฮิต

ก่อนหน้า
 ถัดไป 

Reviews.

บริการที่คุณอาจสนใจ

ปรึกษา “ปัญหาสุขภาพตามไลฟ์สไตล์”

ปรึกษา
“ปัญหาสุขภาพ
ตามไลฟ์สไตล์”

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ไม่ว่าคุณจะใช้ชีวิตแบบไหน คุณก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้
ที่ศูนย์สุขภาพ Welida Health Wellness Center

OR

OR

ลงทะเบียน
เพื่อรับสิทธิพิเศษ

เพื่อความสะดวกในการรับบริการ เวลิด้า เฮลธ์ คลินิก แนะนำให้ท่านทำนัดก่อนเข้ารับบริการ