อาการปวดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งบางท่านอาจเคยพบเจออาการปวดหัวเฉพาะจุด หากยิ่งเป็นส่วนศีรษะย่อมทำให้การใช้ชีวิตประจำวันนั้นทำได้ยากขึ้น ในบางกรณีอาการปวดหัวเฉพาะจุดอย่างปวดหัวข้างซ้าย หรือ อาการปวดหัว จี๊ดๆ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงอัตรายด้านสุขภาพในส่วนอื่นที่ตามมา นั่นทำให้ในวันนี้ Welida Health เพื่อนผู้เชี่ยวชาญด้าน Wellness ของคุณจะมากล่าวถึงสาเหตุ อาการ และวิธีการแก้ซึ่งคุณสามารถป้องกันอาการปวดหัวข้างซ้ายนี้ได้
อาการปวดหัวข้างซ้ายเป็นอันตรายไหม ?
โดยปกติแล้วอาการปวดหัวข้างซ้าย เป็นอาการที่ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก แต่ผลกระทบระยะยาวหากคุณมีอาการปวดหัวข้างซ้ายซึ่งเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณของความเปราะบางของอวัยวะภายในของร่างกาย เช่น การสูญเสียการมองเห็น หรือในกรณีที่ร้ายแรงกว่าคือสัญญาณของเนื้องอกในสมองหรือการบาดเจ็บภายในสมองที่รุนแรง ดังนั้น หากอาการปวดหัวข้างซ้ายของคุณไม่จางหายลงและยิ่งมีอาการปวดรุนแรงขึ้น เราแนะนำให้ทำการสแกน(CT Scan) โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ปวดหัวข้างซ้ายเกิดจากอะไร ?
อาการปวดหัวข้างซ้ายมักเกิดขึ้นด้วย 7 สาเหตุหลัก ดังต่อไปนี้
1. อาการบาดเจ็บบริเวณศรีษะ
การปวดหัวข้างซ้าย ในกรณีแรกที่เราพบได้บ่อยที่สุดเกิดจากอาการบาดเจ็บหรือบาดแผลที่ศรีษะได้รับแรงกระทบที่รุนแรง เช่น การถูกของแข็งตกกระทบศรีษะ ซึ่งหากการปวดหัวข้างซ้ายที่เกิดขึ้นจากอาการบาดเจ็บบริเวณศรีษะนั้นเป็นอาการที่ไม่ถาวร และอาการแทรกซ้อนอื่นๆจะไม่เกิดขึ้น คุณอาจปวดหัวจากอาการบวมของแผลซึ่งอาการปวดมักจะหายไปใน 1 – 2 วัน
วิธีการแก้อาการ: อาการปวดหัวจากอาการบาดเจ็บปกติแล้วจะหายไปเองตามธรรมชาติใน 1 – 2 วัน สามารถใช้ถุงเย็นเพื่อประคบแผลบาดเจ็บเพื่อช่วยให้อาการปวดหายไปโดยเร็วได้ อย่างไรก็ดี หากคุณยังคงมีอาการปวดรุนแรงมากกว่าหนึ่งสัปดาห์ กรุณา ปรึกษา Wellness Clinic หรือเข้ารับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวขาญและเข้ารับยาแก้ปวดที่เหมาะสมโดยเร็ว
2. โรคไมเกรน
อาการไมเกรนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างซ้ายได้ ซึ่งหากไมเกรนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างซ้ายคุณมักจะมีอาการปวดหัวแบบจี๊ด ๆ คลื่นใส้อาเจียน และอาการเห็นแสงวาบ(ไวต่อแสงและเสียง)ร่วมด้วย ในบางครั้งอาการไมเกรนจะส่งผลกระทบกับอาการปวดเบ้าตาร่วมด้วยเนื่องจากสภาวะตึงเครียดที่โรคไมเกรนสร้างขึ้น โดยอาการปวดหัวข้างซ้ายจะยิ่งแย่ลงหากคุณออกกำลังกายที่หนักขึ้นกว่าปกติ เช่น การเดินขึ้นบันได หรือการวิ่งอย่างหนัก
วิธีการแก้อาการ: หากคุณมั่นใจว่าอาการปวดหัวข้างซ้ายนั้นเกิดจากโรคไมเกรนที่เป็นอยู่ สิ่งที่ทำได้ด้วยตนเองเพื่อรักษาอาการ คือ การผ่อนคลาย หากิจกรรมคลายเครียด ฟังเพลง ออกกำลังกาย และพูดคุยกับเพื่อนสนิท เพื่อคลายเครียดซึ่งจะลดภาวะปวดหัวจากโรคไมเกรนได้ หากอาการปวดหัวยังรุนแรง เราแนะนำให้รีบไปพบแพทย์หรือนักประสาทวิทยาเพื่อประเมินและรักษาตามความจําเป็นต่อไป เช่น การขอรับยาแก้ปวด และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างการเข้ารับตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) และจัดตารางออกกำลังกายเป็นประจำ
3. หลอดเลือดอักเสบ
อาการปวดหัวด้านซ้ายที่เกิดจากหลอดเลือดอักเสบ(Vasculitis) เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดภายในร่างกายที่บวมขึ้นเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง โดยผู้ป่วยมักมีอาการปวดหัวข้างซ้ายตรงขบับ โดยทั่วไปแล้ว หลอดเลือดของเราจะได้รับการป้องกันโดยตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง อย่างไรก็ตาม อาการบวมยังสามารถเกิดขึ้นได้หากระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นเพื่อปกป้องหลอดเลือดเหล่านี้จากสิ่งแปลกปลอม เช่น อาการแพ้ยาและการใช้สารเสพติดบางประเภท
วิธีการแก้อาการ: หากอาการปวดหัวข้างซ้ายของคุณเกิดจากภาวะหลอดเลือดอักเสบ คุณควรได้รับการพักผ่อนที่สมบูรณ์อย่างการนอนหลับ หรือ รักษาอาการด้วยยาระงับอาการปวดอย่าง พาราเซตามอล หรือ ยาต้านการอักเสบ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป อย่างไรก็ดี คุณควรได้รับการประเมินจากโรงพยาบาลเพิ่มเติม ทีมแพทย์จะสั่งให้คุณเข้ากระบวนการ MRI, CT Scan และ/หรือ Angiogram เพื่อเอกซ์เรย์ภาพหลอดเลือดและแนะนําวิธีรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โรคสมองขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองอื่น ๆ
4. การอักเสบของหู
โรคหูติดเชื้อซึ่งทำให้มีอาการปวดหู มีน้ำหนอง หรือน้ำขุ่นๆ ไหลออกจากหู อาจเป็นการอักเสบของหูชั้นใน ชั้นกลาง หรือหูชั้นนอก ย่อมทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างซ้าย และปวดหัวข้างซ้ายด้านหลังหัวได้ ซึ่งพบมากในผู้มีอาการปวดหูข้างซ้ายร่วมกันหรืออาจส่งผลกระทบไปยังอาการปวดหัวข้างซ้ายที่กระบอกตาตามมา
วิธีการแก้อาการ: เมื่อพบว่าเป็นโรคหูติดเชื้อซึ่งส่งผลกระทบต่อศรีษะ วิธีที่จะรักษาหูอักเสบได้ คือการได้รับยาต้านไวรัสหรือ ยาปฏิชีวนะตามคำแนะนำของแพทย์ ดังนั้นคุณควรรีบปรึกษาแพทหรือผู้เชี่ยวชาญด้านหูคอจมูก ซึ่งการรักษาหูอักเสบนั้นจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดร่วมด้วย
5. ติดเชื้อในช่องปาก
อาการฟันติดเชื้อซึ่งเป็นโรคจากช่องปากด้านซ้าย สามารถส่งผลให้คุณปวดหัวด้านซ้ายได้เช่นกัน เนื่องด้วยเชื้อแบคทีเรียซึ่งพบที่ด้านในช่องปากอย่างฟัน และอาการเหงือกบวมที่มีหนองสะสมทำให้ผู้ป่วยมักมีอาการปวดระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรง อาการปวดหัวมักเกิดขึ้นทุกครั้งที่ช่องปากเกิดการใช้งาน เช่น การดื่มน้ำเย็นจัดจนปวดหัวขึ้น
วิธีการแก้อาการ: หากคุณคิดว่าคุณอาจมีการติดเชื้อในช่องปากและฟัน คุณควรนักพบทันตแพทย์เพื่อประเมินและรักษา อย่างไรก็ดี ขึ้นอยู่กับความรุนแรง การรักษาเริ่มตั้งแต่การใช้ยาปฏิชีวนะ กำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อ รักษาคลองรากฟัน ไปจนถึงการถอนฟันซี่ที่ติดเชื้อและอักเสบ เมื่อช่องปากคุณดีขึ้น อาการปวดหัวข้างซ้ายย่อมจะจางหายไปพร้อมกัน อย่างไรก็ดี คุณควรรักษาความสะอาดในข่องปากอยู่เสมอ เช่น การแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันอาการปวดหัวที่อาจเกิดขึ้นซ้ำได้
6. เนื้องอก
หากสาเหตุทั้ง 5 ข้อของเรายังไม่ใช่สำหรับอาการปวดหัวของคุณ นั่นอาจหมายความว่าคุณอาจเผชิญกับสาเหตุที่หายากและดูเป็นอันตรายต่อร่างกายมากที่สุดนั่นคือ อาการเนื้องอกในสมอง ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างซ้าย สัญญาณที่บ่งบอกถึงสาเหตุนี้ได้แก่ อาการชัก คลื่นไส้ อาการอาเจียนบ่อยครั้ง ไปจนถึง การสูญเสียการมองเห็นชั่วคราว โดยอาการปวดหัวข้างซ้ายของผู้มีเนื้องอกในสมองจะรุนแรงที่สุดในช่วงเช้าของวัน ซึ่งอาจลุกลามเป็นมะเร็งซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
วิธีการแก้อาการ: หากคุณกำลังสงสัยว่ามีเนื้องอกในสมองอยู่หรือไม่? และเกิดสัญญาณบ่งบอกของโรค คุณควรนัดหมายแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพโดยละเอียด เช่น การนัดหมายเพื่อ CT Scan และ MRI อาการปวดหัวข้างซ้ายโดยทั่วไปจะดีขึ้นเมื่อรักษาเนื้องอกในสมอง ซึ่งวิธีการรักษาในกรณีนี้อาจรวมถึงการผ่าตัดและเคมีบำบัด เป็นต้น
ปวดหัวข้างซ้ายขนาดไหนจึงควรไปหาหมอ ?
คุณควรนัดหมายเข้าพบแพทย์หากอาการปวดหัวข้างซ้ายของคุณมีสภาวะดังต่อไปนี้
- ปวดหัวข้างซ้ายบ่อยครั้งในระยะยาว โดยไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนหรือได้ปฎิบัติตามวิธีแก้อาการของเราแล้ว
- กล้ามเนื้อและร่างกายอ่อนแรงลงเมื่อมีอาการปวด
- เกิดอาการชัก เป็นลม และเคยสูญเสียการมองเห็น(ตาพร่าวมัว)เมื่อมีอาการปวด
- เคยมีประวัติเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- อาการปวดหัวยิ่งแย่ลง เมื่อเวลาผ่านไป
- อาการปวดหัวยิ่งแย่ลง เมื่อนอนราบหรือไอ
- นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก สาเหตุจากอาการปวดหัวข้างซ้าย
หากคุณมีอาการตามที่เรากล่าวถึง 2 สภาวะขึ้นไป คุณควรเริ่มนัดหมายเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อค้นหาภาวะโรคที่ร้ายแรงกว่าทั่วไป เช่น อาการเนื้องอกในสมอง ซึ่งสำหรับการรักษาแพทย์จะเป็นผู้แนะนำคุณในอนาคตให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วยมากที่สุด