รู้จัก ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ทั้ง 3 ระดับ

ความรู้

บทความ

หมวดหมู่

อัพเดทเมื่อ July 17, 2024

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายบริการลูกค้าเวลิด้า

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นคำที่เรามักได้ยินกันบ่อยครั้ง ยิ่งในหมู่พนักงานออฟฟิศและเหล่าพนักงานที่ต้องทำงานที่บ้าน (Work Form Home) ซึ่งต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานจนทำให้เกิดผลกระทบด้านเสียต่อร่างกายทั้งอาการปวด เมื่อยตึง และอาการล้าของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณคอ บา ไหล่ และหลัง 

โดยอาการปวดที่เรารู้จักกันเหล่านี้ จะยิ่งหนักขึ้นหากคุณยังมีพฤติกรรมเดิม ๆ อย่างการนั่งเก้าอี้โดยไร้การเคลื่อนไหวที่เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน ทำให้ในวันนี้ Welida Health เพื่อด้านสุขภาพที่ดี (Wellness) จะขอชวนคุณไปรู้จักโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ให้มากขึ้น พร้อมเสนอวิธีแก้อาการไปพร้อมกัน

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร?

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร?

Office Syndrome โดยทั่วไปแล้วคือการจัดกลุ่มอาการอักเสบของกล้ามเนื้อส่วนคอ บ่า ไหล่ และหลัง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของกล้ามเนื้อที่ตึงขึ้นซ้ำ ๆ โดยร่างกายอยู่ในท่าที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมเป็นระยะเวลานาน เช่น การนั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์ การก้มคอเล่นโทรศัพท์มือถือ โดยทำท่าทางเดิม ซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน เป็นต้น 

โรคออฟฟิศซินโดรมทั้ง  3 ระดับ

โรคออฟฟิศซินโดรม(Office Syndrome) สามารถแบ่งตามระดับความรุนแรงและลักษณะอาการปวดตามสัญญาณอาการได้ ดังนี้

โรคออฟฟิศซินโดรมทั้ง  3 ระดับ

1. ระดับต้น (Mild Symptoms)

ผู้เป็นโรคโรคออฟฟิศซินโดรมระดับต้น จะมีอาการปวดเมื่อยเล็กน้อยบริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลัง ซึ่งมีสาเหตุอาการตึงกล้ามเนื้อจากการนั่งหรือใช้คอมพิวเตอร์ ร่วมกับมีอาการปวดเบ้าตาจากการจ้องหน้าจอนาน ๆ

2. ระดับกลาง (Moderate Symptoms)

ผู้เป็นโรคโรคออฟฟิศซินโดรมระดับกลาง ย่อมมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่รุนแรงขึ้นและบ่อยขึ้นจากระยะต้น และมีอาการชาตามมือหรือแขนเนื่องจากการอาการโรคเส้นประสาทกดทับ ในบางกรณีผู้ป่วยจะอาการปวดหัว มึนหัว หรืออาการเวียนศรีษะร่วมด้วยจากสภาวะความเครียดและความเมื่อยล้าของสมอง

3. ระดับรุนแรง (Severe Symptoms)

ผู้เป็นโรคโรคออฟฟิศซินโดรมระดับรุนแรง จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อเรื้อรังที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน มีอาการชาที่รุนแรงและเริ่มสูญเสียความรู้สึกบางส่วนตามข้อต่อบริเวณข้อมือ ในบางกรณีที่อาการหนักขึ้น มักพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการมองเห็น อาการนอนไม่หลับ และภาวะความเครียดสะสมเรื้อรัง จนก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น หมอนรองกระดูกเสื่อม และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

ออฟฟิศซินโดรม รักษาหายไหม ?

ออฟฟิศซินโดรม รักษาหายไหม ?

สำหรับวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมในระดับต้น สามารถรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน เช่น การทำกายบริหารยืดกล้ามเนื้อ การนวด การทำกายภาพบำบัด และการจัดท่าทางที่เหมาะสมในการทำงานยิ่งขึ้น โดยอาจพักเบรกจากหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคนี้ 

วิธีรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมระดับกลาง สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานเช่นเดียวกับระดับต้น ซึ่งสำหรับอาการชาตามมือและแขน คุณควรจะทานอาหารเสริมที่มีวิตามิน B1, B6 และ B12 ที่จะสามารถบรรเทาอาการโรคเส้นประสาทกดทับด้วยตนเองได้ อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจหาภาวะออฟฟิศซินโดรมเชิงลึก เราแนะนำให้ทำการสแกนแบบอัลตราซาวนด์ หรือ การตรวจเลือด ซึ่งจะทำให้คุณหาวิธีในการรักษาส่วนของกล้ามเนื้อและการไหลเวียนของเลือดได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

สำหรับผู้เป็นออฟฟิศซินโดรมในระดับรุนแรง จำเป็นจะต้องต้องมีการรักษาที่ละเอียดและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การใช้การกายภาพบำบัด การใช้หลักการยศาสตร์เป็นเครื่องมือในการปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน(Ergonomic) ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบบางชนิดในการรักษา เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด(NSAIDs) ซึ่งในกรณีที่ออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นขั้นที่อาการหนักที่สุด อาจนำไปสู่การผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาทางกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทที่ถูกกดทับในที่สุด

วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรม

อ้างอิง: https://www.cherseryhome.com/

วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรมเป็นสิ่งสำคัญที่คนทำงานออฟฟิศควรให้ความสนใจ เริ่มต้นจากการจัดท่าทางการนั่งทำงานที่ถูกต้อง โดยควรนั่งตัวตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ ศีรษะตั้งตรง ไม่ก้มหรือเงยมากเกินไป ปรับความสูงของเก้าอี้ให้เข่างอทำมุม 90 องศา เท้าวางราบกับพื้น วางแขนให้ขนานกับพื้น และข้อศอกงอประมาณ 90-110 องศา นอกจากนี้ ควรจัดวางจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ห่างจากตาประมาณ 50-70 เซนติเมตร และอยู่ในระดับสายตาหรือต่ำกว่าเล็กน้อย

การออกกำลังกายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างวันเป็นอีกวิธีที่ช่วยป้องกันออฟฟิศซินโดรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุก 1-2 ชั่วโมง โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลัง พร้อมทั้งลุกเดินเปลี่ยนอิริยาบถทุก 30-60 นาที ทำกายบริหารง่ายๆ เช่น การหมุนไหล่ การเอียงคอ การบิดลำตัว และหากเป็นไปได้ ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์

การปรับสภาพแวดล้อมการทำงานตามหลักการยศาสตร์ก็มีส่วนสำคัญในการป้องกันออฟฟิศซินโดรม ควรใช้เก้าอี้ที่มีพนักพิงรองรับหลังส่วนล่างและสามารถปรับระดับได้ โต๊ะทำงานควรมีความสูงที่เหมาะสม ไม่ทำให้ต้องยกไหล่หรือก้มตัวมากเกินไป จัดวางอุปกรณ์ที่ใช้บ่อยให้อยู่ในระยะที่เอื้อมถึงได้ง่าย ใช้ที่วางเอกสารหรือแท่นวางหนังสือเพื่อลดการก้มคอขณะอ่าน และปรับแสงสว่างในที่ทำงานให้เพียงพอ ไม่สว่างหรือมืดเกินไป

สุดท้าย เทคนิคการพักสายตาและคอระหว่างใช้คอมพิวเตอร์ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ควรใช้กฎ 20-20-20 คือทุก 20 นาที ให้มองไกลออกไป 20 ฟุต (ประมาณ 6 เมตร) เป็นเวลา 20 วินาที กระพริบตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการตาแห้ง ปรับความสว่างและคอนทราสต์ของหน้าจอให้เหมาะสม ใช้แว่นตาที่เหมาะสมหากมีปัญหาสายตา ทำการนวดคอและขมับเบาๆ เป็นระยะ และหมุนคอช้าๆ เป็นวงกลมเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การปฏิบัติตามวิธีป้องกันเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความนี้ถูกตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องโดย

ชวัลนุช ม่วงประเสิรฐ

Chawannut Muangprasert

ประวัติการศึกษา

Master’s degree : Anti aging & Regenerative medicine Bachelor’s degree : Faculty of Medicine,Ramathibodi hospital

เฉพาะทางด้าน

Anti Aging & Regenerative medicine,Aesthetic dermatology