Search
Close this search box.

หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร?  สัญญานอันตรายเงียบต่อสุขภาพ

แชร์เนื้อหา:

แพ็คเกจที่คุณอาจสนใจ

ปกติ 24,820 บาท ลดเหลือ 15,000 บาท

ปกติ 28,500 บาท ลดเหลือ 17,500 บาท

ปกติ 16,500 บาท ลดเหลือ 9,900 บาท

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีปัญหาจากทางบ้านส่งมาให้เราตอบอยู่เสมอ โดยหนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่น่าสนใจและเกิดขึ้นในหลายคนคือ อาการหายใจไม่อิ่ม (Dyspnea) ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้ป่วย “รู้สึกว่าหายใจได้ไม่เต็มที่ จุกที่คอ เหมือนรู้สึกขาดอากาศหายใจ” เป็นอาการที่พบได้บ่อยครั้งและส่งผลต่อสุขภาพองค์รวมที่สำคัญในร่างกายที่แตกต่างกัน ทำให้ในวันนี้ Welida Health จะมาไขข้อสงสัย อธิบาย และ ให้ข้อสังเกตสัญญาอัตรายเงียบของอาการหายใจไม่อิ่ม เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกคนกัน

หายใจไม่อิ่ม (Dyspnea) คืออะไร ?

อาการหายใจไม่อิ่ม(Dyspnea) คืออาการที่ร่างกายรับรู้ว่าหายใจได้ไม่เพียงพอ ไม่เต็มปอด แน่นหน้าอก คล้ายกับตนขาดอากาศหรือรู้สึกจุอากาศได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้เกิดความรู้สึกไม่สบายและวิตกกังวล ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากโรคทางระบบทางเดินหายใจ หรือจากระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือจากสาเหตุที่พบได้บ่อยครั้งที่สุดซึ่งเป็นสาเหตุชั่วคราวอย่างสภาวะความเครียดและความวิตกกังวลของร่างกาย เป็นต้น

สาเหตุของอาการหายใจไม่อิ่ม

สาเหตุทั่วไปของอาการหายใจไม่อิ่ม อาจเกิดจากหลายโรคที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องพึงระวัง ดังนี้

  • สามารถเกิดขึ้นในผู้เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหอบหืด(Asthma), โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD), อาการปอดอักเสบ (Pneumonia), อาการลิ่มเลือดในปอด (Pulmonary embolism) และ โรคปอดมีพังผืด (Interstitial lung disease) หรือโรคทั่วไปอย่างไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
  • สามารถเกิดขึ้นในผู้เป็นโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ สภาวะหัวใจวาย(Heart failure), โรคหลอดเลือดหัวใจ(Coronary artery disease) และ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmias) เป็นต้น
  • เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งเป็นสภาวะชั่วคราว(พบได้บ่อยที่สุด) เช่น ความเครียด อาการตื่นตระหนก และความวิตกกังวล ที่สามารถทำให้เกิดการหายใจเร็วและหายใจไม่เต็มที่ได้
  • การออกกำลังกายหนักเกินไป ย่อมสามารถทำให้เกิดการหายใจไม่อิ่มชั่วคราวได้
  • อยู่ในพื้นที่อากาศร้อนหรือชื้น ทำให้รู้สึกหายใจได้ไม่สะดวก(ต้องหายใจบ่อยครั้งขึ้น)
  • การอยู่ในที่สูงซึ่งมีออกซิเจนน้อย ทำให้ร่างกายรู้สึกจุกแน่นหน้าอกที่ต้องปรับตัวและต้องการการหายใจที่มากขึ้น
  • การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มือสอง ทำให้เกิดการระคายเคืองที่ปอดส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ

การรักษาเมื่อรู้สึกหายใจไม่อิ่ม

เมื่อรู้สึกหายใจไม่อิ่ม คุณสามารถแก้อาการนี้ได้ด้วยตนเองโดยการบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้

เปลี่ยนการนั่งและยืน

การนั่งลง หรือลุกขึ้นยืน จะสามารถช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น โดยนั่งบนเก้าอี้ที่มีความสูงพอเหมาะ ให้เท้าของคุณวางราบกับพื้นอย่างสะดวก หลังจากนั้นโน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย ใช้ศอกทั้งสองข้างวางบนเข่า แล้ววางคางไว้ที่มือ ปล่อยให้กล้ามเนื้อคอและไหล่ผ่อนคลาย ท่านี้จะช่วยเปิดช่องทางเดินหายใจและลดความตึงเครียดในกล้ามเนื้อ

ใช้เทคนิคการหายใจเข้าช่วย

ใช้เทคนิคการหายใจเข้าช่วย

เทคนิคการหายใจแบบเป่าปาก(Pursed-Lip Breathing) จะช่วยบรรเทาอาการได้ โดยช่วยให้การหายใจของคุณเป็นไปอย่างช้าลงและหายใจได้ลึกขึ้น โดยหายใจเข้าทางจมูกอย่างช้า ๆ โดยนับในใจ 1-2 วินาที โดยปิดปากเล็กน้อย ทำริมฝีปากให้เหมือนกับกำลังผิวปาก จากนั้น หายใจออกทางปากอย่างช้า ๆ โดยนับในใจ 1-4 วินาที (ระหว่างหายใจออกให้รู้สึกเหมือนกำลังพ่นลมหายใจออกช้า ๆ ผ่านริมฝีปากที่ปิดอยู่)

;p0

การใช้ยาเพื่อรักษาและบรรเทาอาการ

การใช้ยาเพื่อรักษาอาการ เช่น ยาขยายหลอดลมที่ใช้ในผู้ป้วยโรคหอบหืด หรือ ยาปฏิชีวนะ หากสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ(ปอดอักเสบ) เป็นต้น ทั้งนี้การใช้ยาเราแนะนำให้ปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัดเสมอ 

อาการที่ควรสังเกตและเมื่อไหร่ควรพบแพทย์

อาการที่ควรสังเกตและเมื่อไหร่ควรพบแพทย์

แม้ว่าอาการหายใจไม่อิ่มอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและบางครั้งสามารถบรรเทาได้ด้วยตนเอง แต่ก็มีบางกรณีที่จำเป็นต้องพบแพทย์โดยเร็ว ผู้ที่มีอาการหายใจไม่อิ่มควรสังเกตอาการต่อไปนี้ และพิจารณาพบแพทย์หากพบว่า:

  • อาการหายใจลำบากเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรง
    • หากคุณรู้สึกว่าหายใจไม่ออกอย่างกะทันหัน หรือมีอาการหอบเหนื่อยอย่างรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์หรือเข้ารับการรักษาฉุกเฉินทันที
  • มีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย
    • อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดร่วมกับอาการหายใจไม่อิ่มอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจขาดเลือด ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยด่วน
  • อาการหายใจไม่อิ่มเกิดขึ้นแม้ในขณะพักผ่อน
    • หากคุณรู้สึกหายใจไม่อิ่มแม้ในขณะที่นั่งพักหรือนอนอยู่เฉย ๆ โดยไม่ได้ออกแรง นี่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง
  • อาการแย่ลงอย่างรวดเร็วหรือเป็นต่อเนื่องนานกว่า 1 สัปดาห์
    • หากอาการหายใจไม่อิ่มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หรือเป็นต่อเนื่องนานเกินกว่า 1 สัปดาห์โดยไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม
  • มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
    • ไข้สูง: อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
    • อาการหน้ามืด วิงเวียน หรือเป็นลม: อาจบ่งชี้ถึงปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือดหรือระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ
    • ไอเป็นเลือด: อาจเป็นอาการของโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด
    • บวมที่ขาหรือข้อเท้า: อาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจล้มเหลว
  • มีประวัติโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบหัวใจหรือปอด
    • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบหัวใจหรือปอดอยู่แล้ว เช่น โรคหอบหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการหายใจไม่อิ่มที่ผิดปกติไปจากอาการประจำ
  • อาการรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
    • หากอาการหายใจไม่อิ่มส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

บทสรุป

อาการหายใจไม่อิ่ม หรือ Dyspnea เป็นภาวะที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าหายใจได้ไม่เต็มที่ จุกที่คอ หรือขาดอากาศหายใจ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยและส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม อาการนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือสาเหตุชั่วคราวอื่นๆ เช่น ความเครียด การออกกำลังกายหนักเกินไป หรือการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนน้อย

เมื่อเกิดอาการหายใจไม่อิ่ม สามารถบรรเทาได้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การปรับท่าทางการนั่งและยืนให้เหมาะสม การใช้เทคนิคการหายใจแบบเป่าปาก หรือการใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่ควรพบแพทย์โดยเร็ว เช่น เมื่อมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน มีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย หรือมีอาการอื่นๆ ที่น่ากังวล เช่น ไข้สูง หน้ามืด หรือไอเป็นเลือด

การสังเกตอาการและตัดสินใจพบแพทย์อย่างทันท่วงทีเมื่อจำเป็น จะช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และช่วยให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เร็วขึ้น ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการหายใจไม่อิ่ม สาเหตุ และวิธีการจัดการ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง

บทความนี้ถูกตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

ชวัลนุช ม่วงประเสิรฐ

Chawannut Muangprasert

ประวัติการศึกษา

Master's degree : Anti aging & Regenerative medicine Bachelor's degree : Faculty of Medicine,Ramathibodi hospital

เฉพาะทางด้าน

Anti Aging & Regenerative medicine,Aesthetic dermatology

บทความที่น่าสนใจ